วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ฯ



เอกลักษณ์

“เก่ง ดี เทคโนโลยีร่วมสมัย”

( Skillfully: Gracefully: Contemporary)

เก่ง หมายถึง

ผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพรอุปถัมภ์ ฯ มีสมรรถภาพสูงในการดำเนินชีวิต โดยมีความสามารถเฉพาะด้าน และรอบรู้รอบด้าน มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถด้านภาษา และเทคโนโลยี มีภาวะผู้นำ เป็นคนทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทันโลก ทันเทคโนโนโลยี สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ และทำประโยชน์ให้แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติได้

ดี หมายถึง

ผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ ฯ เป็นผู้ที่ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุ๊ณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งทางด้านจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงออก มีวินัย มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีเหตุผล รู้หน้าที่ ซื่อสัตย์ พากเพียร ขยัน ประหยัด มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เคารพความคิดเห็นและสิทธิของผู้อื่น มีความเสียสละ รักษาสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

เทคโนโลยีร่วมสมัย หมายถึง

ผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ ฯ เป็ฯผู้ที่มีการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ในการแก้ปัญหา และเพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา มีความทันสมัย ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทุกมิติ สามารถปรับเปลี่ยน ตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแต่ละยุคสมัยได้อย่างทันท่วงที อันจะนำองค์กรไปสู่ความสู่ความเป็นเลิศและบรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทุกยุคสมัยตลอดมา


ประวัติความเป็นมา



วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ฯ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2507 โดยอาจารย์ประโยชน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา จากความต้องที่จะรับใช้สังคมในขณะนั้นในด้านธุรกิจการโรงแรม และการท่องเที่ยว ที่เริ่มเติบโต มีผู้สนใจเข้ารับการศึกษาในระยะแรกจำนวนหนึ่ง และเวลาเดียวกัน ได้พยายามพัฒนาปรับปรุงระบบการเรียนการสอนให้รุดหน้าไป โดยมีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาทำการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้มีความชำนาญพิเศษ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพโดยตรงอย่างแท้


หลักสูตรในระยะเริ่มแรก เป็นลักษณะหลักสูตรระยะสั้น (Intensive Course) 3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง หรือ 1 ปี โดยมีวตถุประสงค์ให้ผู้ที่มีทุนน้อยได้แสวงหาความรู้ ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อการประกอบอาชีพ และผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม ปี พ.ศ. 2510 มีผู้สนใจเรียนจำนวนมากขึ้น จึงย้ายจากบริเวณ ถนนราชดำเนิน มาตั้งอยู่ที่ เลขที่ 190 ซอยวุฒิพันธ์ ถนนราชปรารภ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี และได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ทันสมัยโดยปรับเป็นหลักสูตร 2 ปี และหลักสูตร 3 ปี หลักสูตรที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2510 คือ


1.หลักสูตรธุรกิจการโรงแรม การบิน การท่องเที่ยว
2.หลักสูตรการค้า การธนาคาร การเลขานุการ และการบัญชี



โดยผู้ที่เรียนหลักสูตร 2 ปี จะได้รับ Certificate ในสาขานั้น ๆ และผู้ที่เรียนหลักสูตร 3 ปี จะได้รับ Diplomaในสาขานั้น ๆ เช่นกัน แต่ละหลักสูตรมุ่งเน้นการสอนเฉพาะวิชาชีพ ที่ตรงกับตลาดแรงงานมากที่สุด และหน่วยงานทั้งหลายต่างยินดีที่จะรับนักศึกษาทมี่จบแล้วเข้าทำงานในหน่วยงานทันที โดยไม่คำนึงถึงวุฒิการศึกษาใด ๆ


ในปี พ.ศ. 2511 วิทยาลัยได้ขยายบริเวณเพิ่มขึ้น และปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัยให้นักศึกษาได้มีโอกาสไปฝึกงานตามหน่วยงานต่าง ๆ ตามโรงแรมชั้นหนึ่งทั่วไปมีการไปดูงานสัมมนาในต่างประเทศโดยมีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถทำการสอน


พ.ศ. 2515 วิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา


พ.ศ.2516 เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงมีพระราชภารกิจมากมายอาจารย์ประโยชน์ จึงได้กราบทูลเชิญ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณวดี เป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียน และอัญเชิญเสด็จพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เป็นต้นมาจนกระทั้งปัจจุบัน


พ.ศ.2519 อาจารย์ประโยชน์ อิศรเศนา ณ อยุธยา ถึงแก่กรรม ด้วยวัยชราเพียง 42 ปี อาจรย์ปรียา อิศรเสนา ณ อยุธยา พี่สาว ได้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อจากท่านจนถึงปี พ.ศ.2524 จึงได้ลาลองไปประกอบธุรกิจส่วนตัว


พ.ศ.2524 ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร ผจญ ขันธะชวนะ เป็นผู้รับใบอณุยาต ดำเนินการบริหารโรงเรียนในตำแหน่งผู้อำนวยการ อาจารย์ปัญจพร เอื้อจงประสิทธิ์ เป็นอาจารย์ใหญ่ในปีนี้ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรด้านการโรงแรม และ Commerce และได้ดำเนินการขออณุญาต หลักสูตรตามกำหนดมาตรฐานกระทรวงศึกษาธิการ และพร้อมกันนี้ได้ สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับนักศึกษาที่ให้ความสนใจมากขึ้นเป็นลำดับ และขยายพ้นที่มากขึ้นภายในโรงเรียนสยามธุรกิจพณิชยการ และได้เปิด หลักสูตรประกาศณียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รุ่นแรกรวม 3 สาขา ในเดือน พฤษศจิกายน 2525 คือ


1.สาขาบัญชี
2.สาขาเลขานุการ
3.สาขาบริการธุรกิจโรงแรม



โดยทุกหลักสูตรธุรกิจโรงแรม การบิน การท่องเที่ยว เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสประกอบอาชีพได้กว้างขวางหลากหลาย นอกจากนั้นยังคงจัดหลักสูตรระยะสั้น (Intensive Course) 1 ปีอยู่เช่นเดิมในสาขาโรงแรม และการเลขานุการ ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมจากผู้เรียนอย่างมาก


พ.ส.2532 ได้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาการบัญชีและสาขาการจัดการและได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารคอนกรีดเสริมเหล็ก 5 ชั้น เป็นอาคารเรียนแทนอาคารไม้ มีห้องเรียนปฏิบัตรที่ทันสมัย


พ.ศ.2534 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค รับผู้จบ ม.6 เข้าเรียนในสาขาการบัญชีและสาขาการโรงแรม


พ.ศ.2537 เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาวิชาการจัดการงานบุคคล


พ.ศ.2540 เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ


พ.ศ.2542 เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาการตลาด และโครงการนำร่องหลักสูตรนานาชาติ ในสาขาวิชาการโรงแรม (International English Program) ระดับ ปวส.


ขณะเดียวกัน วิทยาลัยฯ ได้ก่อสร้างอาคารหลักใหม่ เป็นอาคารหลังใหม่ คอนกรีดเสริมเหล็ก 5 ชั้น แทนอาคารไม้ 2 ชั้น และได้รับพระราชทานชื่อว่าอาคาร “อาคารสมเด็จเจ้าฟ้าเพรชรัตน” ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้า๓คินีเธอ เจ้าฟ้าเพรชราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี องค์อุปภัมถ์ของวิทยาลัยฯ


พ.ศ.2546 เพิ่มหลักสูตร คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับ ประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.)


พ.ศ.2547 เพิ่มหนักสูตร การจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)


พ.ศ.2548 ขยายหลักสูตรภาคสมทบ วันอาทิตย์


พ.ศ.2549 เปิกหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนระหร่างประเทศไทย-เบลเยี่ยม (Hasselt-siam Educational Exchange Project)พร้อมทั้งรับการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพจาก สมศ. รอบที่ 2 และผ่านการประเมินในระดับดี


พ.ศ.2550 เปิดใช้อาคาร 4 ให้เป็นสำนักงานทะเบียนการเงิน ห้องสมุด ห้องสัมมนาขนาดเล็กสำนักงานฝ่ายบริการ ฝ่ายกิจการนักศึกษา และห้องพยาบาล ปรับปรุงอาคารไม้เป็นห้องปฏิบัติจัดเลี้ยงการโรงแรม เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นสยามธุรกิจในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพรชรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี


พ.ศ.2551 ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานตาม พรบ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผจญ ขันธะชวนะ เป็นประธานกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ ผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการอาจารย์ปัญจพร เอื้อจงประสิทธิ์ เป็นผู้อำนวยการ และการดำเนินการภายใต้ตราสารของวิทยาลัยฯ กระจายอำนาจการบริหารการวิชาการในรูปแบบคณะวิชา ประกอบด้วย คณะอุตส่าหกรรม บริการ คณะบริหารธุรกิจ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ


พ.ศ.2552 – พ.ศ.2553 วิทยาลัยฯพัฒนาด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกรอบๆ วิทยาลัยฯที่อำนวยความสะดวกต่อการเดินทางสู่วิทยาลัยฯ


พ.ศ.2554 วิทยาลัยได้เปลี่ยนคำนำหน้าจาก “โรงเรียน”เป็น ”วิทยาลัยเทคโนโลยี” ตาม พรบ. โรงเรียนเอกชน ปี 2550 ปรับปรุง 2551 จากชื่อโรงเรียนสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ เป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพระภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี


ปัจจุบัน วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ฯ เปิดทำการเรียนการสอนทั้งภาค ปกติและภาคสมทบมีนักเรียน นักศึกษาทั้งสองภาครวมกันทั้งสิ้น 2500 คน มีอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ และเจ้าหน้าที่จำนวน 70 ท่าน



หลักสูตร ปวช.

สาขาวิชาการบัญชี
สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขาวิชาการโรงแรม


หลักสูตร ปวส

สาขาวิชาการบัญชี
สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขาวิชาการโรงแรม
สาขาวิชาการท่องเที่ยว


International English Program
(Higher Diploma in Technical Education)
Hotel Management
Tourism Management