ประวัติส่วนตัว


ชื่อ นาย ประริณ ไชยวณิชย์ ชื่อเล่น โลตัส
เกิดวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2538
ปัจจุบันอายุ 21 ปี เลือดกรุ๊ป B
ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ
คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาระบบสารสนเทศ

ข้อคิด/คติประจำใจ

" Glory in life is not in never failing, But rising each time we fail. "
" ความสำเร็จในชีวิตไม่ใช่การไม่เคยพ่ายแพ้ แต่เป็นการลุกขึ้นได้ทุกครั้งที่ล้มลงต่างหาก "
ช่างมัน - SOMKIAT


Song : ช่างมัน (WHATEVER) 
Artist : SOMKIAT
Label : smallroom

ทั้งๆ ที่เรา อ่อนแอเสียจนว่างเปล่า
ทั้งๆ ที่เรา อ่อนแอเสียจนหยัดยืนแทบไม่ไหว

ถึงโกรธที่เป็นอย่างนี้อยู่ได้ กี่ครั้งกับเรื่องบ้าๆ อย่างเดิม
อีกกี่ครั้งที่เจอกับคนที่เบลอ
ถึงเกลียดแต่เราก็ยังต้องเจอ และจะเป็นเช่นนี้เสมอ

ถ้าหากว่ามากไป ให้ทิ้งไป
อย่าไปสนถ้อยคำของคนที่ทำให้เรานั้นต้องมา­เจ็บ
แล้วไง ไม่สนใจ อย่าไปเสียเวลาไม่ต้องมาทน
เพราะเราไม่ควรจะแบกรับไว้ ช่างใคร

ทั้งๆ ที่เรา ไม่เคยคิดร้ายใครก่อน
ถึงแม้อย่างนั้น ก็โดนเสียจนเกือบยืนแทบไม่­ไหว

ถึงโกรธที่เป็นอย่างนี้อยู่ได้ กี่ครั้งกับเรื่องบ้าๆ อย่างเดิม
อีกกี่ครั้งที่เจอกับคนที่เบลอ
ถึงเกลียดแต่เราก็ยังต้องเจอ และจะเป็นเช่นนี้เสมอ

ถ้าหากว่ามากไป ให้ทิ้งไป
อย่าไปสนถ้อยคำของคนที่ทำให้เรานั้นต้องมา­เจ็บ
แล้วไง ไม่สนใจ อย่าไปเสียเวลาไม่ต้องมาทน
เพราะเราไม่ควรจะแบกรับไว้ ช่างใคร

ถ้าหากว่ามากไป ให้ทิ้งไป
อย่าไปสนถ้อยคำของคนที่ทำให้เรานั้นต้องมา­เจ็บ
แล้วไง ไม่สนใจ อย่าไปเสียเวลาไม่ต้องมาทน
เพราะเราไม่ควรจะแบกรับไว้ ช่างใคร
อาหารที่ชื่นชอบ


หมูกระเทียม+ไข่ดาว


มักกะโรนี
สถานที่ท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ

ชายหาดชะอำ
ชะอำ เป็นหาดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอ ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ในรัฐสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีมาก จนได้ให้มีการสร้างค่ายหลวงบางทะลุ ณ ที่ หาดเจ้าสำราญ อำเภอเมืองเพชรบุรี แต่ที่ตำบลบางทะลุแมลงวันชุกชุม พระองค์จึงได้รับสั่งให้ย้ายการก่อสร้างมาทางทิศใต้ของชายฝั่งเพชรบุรี ณ หาดชะอำ เพื่อก่อสร้างพระราชวังฤดูร้อน ที่ก่อสร้างด้วยไม้สัก ทั้งองค์พระตำหนัก และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามพระราชวังแห่งนี้ ว่า พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน โดยพระราชวังแห่งนี้จะยื่นออกไปยังทะเล

ตั้งแต่นั้นมาชายหาดชะอำก็ได้เป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงลำดับต้นๆของสถานที่ท่องเที่ยงของประเทศไทย ตลอดมา 

     หาดชะอำ ได้รับการพัฒนาเจริญเติบโตขึ้น และยกฐานะเป็น อำเภอชะอำ จนในปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดขบวนการรถไฟพิเศษนำ เที่ยว กรุงเทพฯ - ชะอำ ทุกวันหยุด รายละเอียดติดต่อหน่วยบริการเดินทาง โทร. 223-7010, 223-7020. 
สถานที่พักบน หาดชะอำ มีทั้งโรงแรมมาตรฐาน, โรงแรมขนาดเล็ก, เกสต์เฮ้าส์, รีสอร์ท, บูติกรีสอร์ท, บังกะโล, บ้านพัก, บูติกโฮเต็ล, น้องหมาแสนรักพักได้ที่นี่, ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะอยู่ริมทะเล และอาจจะมีบางส่วนที่อยู่ห่างออกมาแต่มองเห็นทะเล โดยมากแล้วก็จะไม่ไกลจากชายหาดซักเท่าไรและใช้เวลาเดินเพียง 4-5 นาที หรืออาจน้อยกว่านั้น ซึ่งราคาก็จะแตกต่างกันไปตามโรงแรม หรือ รีสอร์ท ต่างๆ

     ที่พักบน หาดชะอำนั้นจะไม่มีชายหาดส่วนตัว โดยในส่วนที่มีชายหาดส่วนตัวนั้นอาจจะอยู่ที่หาดอื่น แต่จะอยู่ในอำเภอ ชะอำ เช่น หาดบ้านคลองเทียน หาดบ้านบางเกตุ ซึ่งอยู่ภายใน อำเภอชะอำ เช่นเดียวกัน 

     หาดชะอำนี้ บริเวณที่นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามาเที่ยวพักผ่อน นั้นมีความยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ซึ่งจะมีถนนเป็นแนวยาวตลอดหาด กั้นระหว่างชายหาด และบ้าน พักร้านค้าต่างๆ เพื่อไม่ให้ รุกล้ำลงไปบนชาย หาดชะอำ ซึ่งเป็นการรักษาธรรมชาติของหาดชะอำ

ประวัติและความเป็นมา:
     แต่เดิมชะอำมีชื่อว่า "ชะอาน" เล่ากันว่าเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรยกทัพมาทางใต้ ทรงนำทัพมาเมืองนี้เพื่อพักกำลังไพร่พลช้างม้า และล้างอานม้า ซึ่งได้ชื่อว่า "ชะอาน" ต่อมาเพี้ยนเป็น "ชะอำ"

     ซึ่งอดีตมีความเจริญด้านการท่องเที่ยว ตั้งแต่เริ่มมีเส้นทางคมนาคมทางรถไฟ พ.ศ.2459 แต่เดิมเป็นตำบลในเขตการปกครองของ อำเภอนายาง เมื่อ อำเภอนายางได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอหนองจอก ในสมัยสงครามเอเชียบูรพา ครั้งนั้นกระทรวงมหาดไทยย้ายอำเภอหนองจอกมาตั้งที่ ตำบลชะอำ และเปลี่ยนชื่อ อำเภอหนองจอก เป็น อำเภอชะอำในปัจจุบัน ตำบลชะอำจึงอยู่ในเขตอำเภอชะอำตั้งแต่ พ.ศ.2487 เป็นต้นมา ปัจจุบันนี้ ตำบลชะอำอยู่ในเขตการปกครองของเทศบาล ตำบลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

สภาพทั่วไปของตำบล:
     ตำบลชะอำมีพื้นที่ด้านทิศตะวันออก ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตลอดแนวตำบล มีภูเขาสลับพื้นที่ ราบชายฝั่ง ชาวบ้านจึงมีพื้นที่ทำเกษตรกรรม และการปกครอง ตำบลชะอำมีแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติ คือ ชายหาดชะอำ

อาณาเขตตำบล
-ทิศเหนือ จรด ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
-ทิศใต้ จรด ตำบลบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
-ทิศตะวันออก จรด ชายทะเลอ่าวไทย
-ทิศตะวันตก จรด แนวระยะทางรถไฟสายใต้ไปทางทิศใต้ 2 กม. ตลอดแนว ตำบลชะอำ

อาชีพของตำบล : อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน/ทำไร่ ประมง การค้า ธุรกิจการโรงแรม

ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล:
1. ชายหาดทะเลชะอำ
2. ที่ว่าการ อ.ชะอำ
3. เทศบาล ต.ชะอำ
4. ที่ทำการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเขต 2 ภาคกลาง
5. ค่ายมฤคทายวัน (ค่ายพระรามหก)
6. ค่ายนเรศวร

ชายหาดบางแสน
บางแสน เดิมเป็นชายทะเลรกร้าง ตั้งอยู่ในตำบลชื่อ ตำบลแสนสุข กระทั่ง พุทธศักราช 2486 เริ่มให้มีการสร้างสถานตากอากาศขึ้นมีการสร้าง โรงแรม และ ที่พักต่างๆ ดำเนินการโดยบริษัทแสนสำราญ จึงเรียกว่าสถานตากอากาศแสนสำราญตามชื่อบริษัท ต่อมาใน พ.ศ. 2503 จึงโอนให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และเปลี่ยนชื่อเป็น สถานตากอากาศบางแสน ชายหาดของ ตำบล แสนสุข จังหวัด ชลบุรี บางแสน เป็นที่เที่ยวยอดนิยมของชาวไทยมาช้านาน บางแสนเป็นหาดทรายทะเลขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้กรุงเทพที่สุด มีการขนานนามว่า บางแสนดินแดนสุขขี ทำให้ผู้คนเดินทางไปท่องเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก

      มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ
ปี พ.ศ. 2492 ฯพณฯ จอมพลผิน ชุณหะวัณ รองผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ได้ชักชวนข้าราชการในกองทัพบกทุกท่านให้เสียสละเงินรายได้ปีละ 1 วันเพื่อให้กองทัพบก รวบรวมสมทบทุนก่อสร้างโรงเรียน โดยให้ชื่อว่า “โรงเรียนบุตรข้าราชการกองทัพบก” เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการจัดการศึกษาของชาติ และเป็นการตอบแทนข้าราชการสังกัดกองทัพบก ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละโดยไม่ต้องกังวลในเรื่องการจัดหาโรงเรียนให้กับบัตรหลาน โดยเงินจำนวนนี้ใช้ชื่อย่อว่า “เงินงบ ง.ส.ร.บ.” และได้เริ่มดำเนินการสะสมเงินนี้ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฏาคม พ.ศ. 2492

 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 ได้มีการก่อสร้าง “โรงเรียนบุตรข้าราชการกองทัพบกส่วนกลาง” ขึ้นที่ ริมถนนวิภาวดีรังสิต โดยมีจอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้ริเริ่ม และมอบหมายให้พลเอกเต็ม หอมเศรษฐี เป็นประธานอนุกรรมการการจัดตั้งและก่อสร้าง ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2511 การก่อสร้างโรงเรียนเสร็จสิ้น โดยมี ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น และท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์ ซึ่งมีการเปิดสอนในสายสามัญอย่างเดียว


ในปี พ.ศ.2515 กองทัพบกได้จัดตั้ง “โรงเรียนพณิชยการบุตรข้าราชการกองทัพบก” โดยเปิดสอนในแผนกพณิชยการหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้บุตรข้าราชการกองทัพบกและบุคคลอื่นได้ศึกษาต่อในสายอาชีพ โดยมีอาคารเรียน 2 หลัง และหอพัก 1 หลัง โดยมีพลเอกทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา เป็นเจ้าของ ในนามของตัวแทนกองทัพบก มีพันตรีพิษณุ อินทรกำแหง เป็นผู้จัดการ และพันตรีสุบรรณ แสงพันธุ์ เป็นครูใหญ่โดยในปีการศึกษาแรกมีผู้สมัครและเข้าเรียนประมาณ 400 คน แบ่งเป็น 9 ห้องเรียนละประมาณ 40-50 คน โดยส่วนใหญ่เป็นบุตรของข้าราชการกองทัพบก และในปีการศึกษาแรก (ปีการศึกษา 2515) เป็นการเรียนรวม และแยกแผนกในปีการศึกษาที่สอง (ปีการศึกษา 2516) ซึงแบ่งเป็น 3 แผนก คือ แผนกบัญชี แผนกเลขานุการ และแผนกการขาย


ในปี พ.ศ.2516 มีการเปิดสอนแผนกช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า และช่างวิทยุ เพิ่มขึ้นอีก 3 แผนก และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น "โรงเรียนอาชีวศึกษาบุตรข้าราชการกองทัพบก" และภายหลังกองทัพบกได้ มอบให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการต่อ เพราะพิจารณาเห็นถึงปัญหาการขาดแคลนผู้ชำนาญในการจัดการ ตลอดจนอาคารเรียน อุปกรณ์ ที่ดิน และทรัพย์สิน


เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2517 ได้มีการโอนภาระหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้กับกระทรวงศึกษาธิการ โดยพลเอกกฤษณ์ สีวะรา ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เป็นผู้มอบ โดยมอบโรงเรียนที่เปิดสอนวิชาสามัญ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี” และโอนโรงเรียนอาชีวศึกษาบุตรข้าราชการกองทัพบกไปอยู่สังกัดกรมอาชีวศึกษา และเพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงกองทัพบก กระทรวงศึกษาธิการจึงขอพระราชทานนามของ "จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ" ซึ่งเป็นเสนาธิการของกองทัพบกเป็นชื่อใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยจักรพงษภูวนารถ”


 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2520 ได้มีการโอนสถานศึกษาในสังกัดกรมอาชีวศึกษาทั้งหมด 28 แห่ง ไปอยู่สังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ”  ปี พ.ศ. 2527 เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สายวิชาบริหารธุรกิจ 3 แผนก คือ แผนกการบัญชี แผนกการตลาด และแผนกเลขานุการ และเปิดสอนแผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจในปีการศึกษา 2528


 วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2531 วิทยาลัยจักรพงษภูวนารถ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ" ตามวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ให้ว่า "สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล"


            ปี พ.ศ. 2537 สภาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้อนุมัตติให้วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถเปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี(ต่อเนื่อง) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศ (คอมพิวเตอร์) และมีการอนุมัติเปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไปต่อมา


            ปี พ.ศ. 2542 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี บริหารธุรกิจบัณฑิต ภาคปกติ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป และมีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเพิ่มทางเลือกในการศึกษาให้มากขึ้น จนปี 2547 เปิดสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี วิทยาศาสตรบัณฑิต ภาคปกติ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์


            วันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 ได้มีการลงนามความร่วมมือ โครงการจัดการศึกษาภายนอกมหาวิทยาลัยฯ ระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ ภาคสมทบ ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ และโรงเรียนเทคโนโลยีภาคตะวันออก (E.TECH) ชลบุรี


เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเปิดพระอนุสาวรีย์ เจ้าฟ้าจักรพงษภูวนารถ ณ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ ซึ่งวันที่ 13 มิถุนายน 2463 เป็นวันเสด็จทิวงคตของจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เราจึงถือเอาวันที่ 13 มิถุนายน ของทุกปี เป็น “วันเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ” เพื่อให้แก่ข้าราชการและประชาชนได้สักการะบูชา และระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทำคุณประโยชน์มหาศาลต่อกองทัพบกไทย และเทิดพระเกียรติของพระองค์ท่าน"


    ใน พ.ศ. 2548 จากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 และได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 พระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 19 มกราคม 2548 มีผลให้สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเดิม ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2518 ปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลถูกแบ่งแยกออกเป็น 9 มหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ประกอบด้วย 4 วิทยาเขตดังนี้

1.วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ 2.วิทยาเขตจันทบุรี 3.วิทยาเขตบางพระ จ.ชลบุรี 4.วิทยาเขตอุเทนถวาย

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ฯ



เอกลักษณ์

“เก่ง ดี เทคโนโลยีร่วมสมัย”

( Skillfully: Gracefully: Contemporary)

เก่ง หมายถึง

ผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพรอุปถัมภ์ ฯ มีสมรรถภาพสูงในการดำเนินชีวิต โดยมีความสามารถเฉพาะด้าน และรอบรู้รอบด้าน มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถด้านภาษา และเทคโนโลยี มีภาวะผู้นำ เป็นคนทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทันโลก ทันเทคโนโนโลยี สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ และทำประโยชน์ให้แก่ตนเอง สังคม และประเทศชาติได้

ดี หมายถึง

ผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ ฯ เป็นผู้ที่ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุ๊ณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งทางด้านจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงออก มีวินัย มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีเหตุผล รู้หน้าที่ ซื่อสัตย์ พากเพียร ขยัน ประหยัด มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เคารพความคิดเห็นและสิทธิของผู้อื่น มีความเสียสละ รักษาสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

เทคโนโลยีร่วมสมัย หมายถึง

ผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียน นักศึกษา ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ ฯ เป็ฯผู้ที่มีการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ในการแก้ปัญหา และเพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา มีความทันสมัย ให้ความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทุกมิติ สามารถปรับเปลี่ยน ตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแต่ละยุคสมัยได้อย่างทันท่วงที อันจะนำองค์กรไปสู่ความสู่ความเป็นเลิศและบรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทุกยุคสมัยตลอดมา


ประวัติความเป็นมา



วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ฯ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2507 โดยอาจารย์ประโยชน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา จากความต้องที่จะรับใช้สังคมในขณะนั้นในด้านธุรกิจการโรงแรม และการท่องเที่ยว ที่เริ่มเติบโต มีผู้สนใจเข้ารับการศึกษาในระยะแรกจำนวนหนึ่ง และเวลาเดียวกัน ได้พยายามพัฒนาปรับปรุงระบบการเรียนการสอนให้รุดหน้าไป โดยมีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาทำการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้มีความชำนาญพิเศษ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพโดยตรงอย่างแท้


หลักสูตรในระยะเริ่มแรก เป็นลักษณะหลักสูตรระยะสั้น (Intensive Course) 3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง หรือ 1 ปี โดยมีวตถุประสงค์ให้ผู้ที่มีทุนน้อยได้แสวงหาความรู้ ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อการประกอบอาชีพ และผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม ปี พ.ศ. 2510 มีผู้สนใจเรียนจำนวนมากขึ้น จึงย้ายจากบริเวณ ถนนราชดำเนิน มาตั้งอยู่ที่ เลขที่ 190 ซอยวุฒิพันธ์ ถนนราชปรารภ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี และได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ทันสมัยโดยปรับเป็นหลักสูตร 2 ปี และหลักสูตร 3 ปี หลักสูตรที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2510 คือ


1.หลักสูตรธุรกิจการโรงแรม การบิน การท่องเที่ยว
2.หลักสูตรการค้า การธนาคาร การเลขานุการ และการบัญชี



โดยผู้ที่เรียนหลักสูตร 2 ปี จะได้รับ Certificate ในสาขานั้น ๆ และผู้ที่เรียนหลักสูตร 3 ปี จะได้รับ Diplomaในสาขานั้น ๆ เช่นกัน แต่ละหลักสูตรมุ่งเน้นการสอนเฉพาะวิชาชีพ ที่ตรงกับตลาดแรงงานมากที่สุด และหน่วยงานทั้งหลายต่างยินดีที่จะรับนักศึกษาทมี่จบแล้วเข้าทำงานในหน่วยงานทันที โดยไม่คำนึงถึงวุฒิการศึกษาใด ๆ


ในปี พ.ศ. 2511 วิทยาลัยได้ขยายบริเวณเพิ่มขึ้น และปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัยให้นักศึกษาได้มีโอกาสไปฝึกงานตามหน่วยงานต่าง ๆ ตามโรงแรมชั้นหนึ่งทั่วไปมีการไปดูงานสัมมนาในต่างประเทศโดยมีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถทำการสอน


พ.ศ. 2515 วิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา


พ.ศ.2516 เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงมีพระราชภารกิจมากมายอาจารย์ประโยชน์ จึงได้กราบทูลเชิญ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณวดี เป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียน และอัญเชิญเสด็จพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เป็นต้นมาจนกระทั้งปัจจุบัน


พ.ศ.2519 อาจารย์ประโยชน์ อิศรเศนา ณ อยุธยา ถึงแก่กรรม ด้วยวัยชราเพียง 42 ปี อาจรย์ปรียา อิศรเสนา ณ อยุธยา พี่สาว ได้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อจากท่านจนถึงปี พ.ศ.2524 จึงได้ลาลองไปประกอบธุรกิจส่วนตัว


พ.ศ.2524 ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร ผจญ ขันธะชวนะ เป็นผู้รับใบอณุยาต ดำเนินการบริหารโรงเรียนในตำแหน่งผู้อำนวยการ อาจารย์ปัญจพร เอื้อจงประสิทธิ์ เป็นอาจารย์ใหญ่ในปีนี้ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรด้านการโรงแรม และ Commerce และได้ดำเนินการขออณุญาต หลักสูตรตามกำหนดมาตรฐานกระทรวงศึกษาธิการ และพร้อมกันนี้ได้ สร้างอาคารเรียนหลังใหม่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับนักศึกษาที่ให้ความสนใจมากขึ้นเป็นลำดับ และขยายพ้นที่มากขึ้นภายในโรงเรียนสยามธุรกิจพณิชยการ และได้เปิด หลักสูตรประกาศณียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รุ่นแรกรวม 3 สาขา ในเดือน พฤษศจิกายน 2525 คือ


1.สาขาบัญชี
2.สาขาเลขานุการ
3.สาขาบริการธุรกิจโรงแรม



โดยทุกหลักสูตรธุรกิจโรงแรม การบิน การท่องเที่ยว เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสประกอบอาชีพได้กว้างขวางหลากหลาย นอกจากนั้นยังคงจัดหลักสูตรระยะสั้น (Intensive Course) 1 ปีอยู่เช่นเดิมในสาขาโรงแรม และการเลขานุการ ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมจากผู้เรียนอย่างมาก


พ.ส.2532 ได้เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)สาขาการบัญชีและสาขาการจัดการและได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารคอนกรีดเสริมเหล็ก 5 ชั้น เป็นอาคารเรียนแทนอาคารไม้ มีห้องเรียนปฏิบัตรที่ทันสมัย


พ.ศ.2534 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค รับผู้จบ ม.6 เข้าเรียนในสาขาการบัญชีและสาขาการโรงแรม


พ.ศ.2537 เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาวิชาการจัดการงานบุคคล


พ.ศ.2540 เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ


พ.ศ.2542 เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาการตลาด และโครงการนำร่องหลักสูตรนานาชาติ ในสาขาวิชาการโรงแรม (International English Program) ระดับ ปวส.


ขณะเดียวกัน วิทยาลัยฯ ได้ก่อสร้างอาคารหลักใหม่ เป็นอาคารหลังใหม่ คอนกรีดเสริมเหล็ก 5 ชั้น แทนอาคารไม้ 2 ชั้น และได้รับพระราชทานชื่อว่าอาคาร “อาคารสมเด็จเจ้าฟ้าเพรชรัตน” ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้า๓คินีเธอ เจ้าฟ้าเพรชราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี องค์อุปภัมถ์ของวิทยาลัยฯ


พ.ศ.2546 เพิ่มหลักสูตร คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับ ประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.)


พ.ศ.2547 เพิ่มหนักสูตร การจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)


พ.ศ.2548 ขยายหลักสูตรภาคสมทบ วันอาทิตย์


พ.ศ.2549 เปิกหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนระหร่างประเทศไทย-เบลเยี่ยม (Hasselt-siam Educational Exchange Project)พร้อมทั้งรับการตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพจาก สมศ. รอบที่ 2 และผ่านการประเมินในระดับดี


พ.ศ.2550 เปิดใช้อาคาร 4 ให้เป็นสำนักงานทะเบียนการเงิน ห้องสมุด ห้องสัมมนาขนาดเล็กสำนักงานฝ่ายบริการ ฝ่ายกิจการนักศึกษา และห้องพยาบาล ปรับปรุงอาคารไม้เป็นห้องปฏิบัติจัดเลี้ยงการโรงแรม เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นสยามธุรกิจในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพรชรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี


พ.ศ.2551 ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานตาม พรบ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผจญ ขันธะชวนะ เป็นประธานกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ ผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการอาจารย์ปัญจพร เอื้อจงประสิทธิ์ เป็นผู้อำนวยการ และการดำเนินการภายใต้ตราสารของวิทยาลัยฯ กระจายอำนาจการบริหารการวิชาการในรูปแบบคณะวิชา ประกอบด้วย คณะอุตส่าหกรรม บริการ คณะบริหารธุรกิจ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ


พ.ศ.2552 – พ.ศ.2553 วิทยาลัยฯพัฒนาด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกรอบๆ วิทยาลัยฯที่อำนวยความสะดวกต่อการเดินทางสู่วิทยาลัยฯ


พ.ศ.2554 วิทยาลัยได้เปลี่ยนคำนำหน้าจาก “โรงเรียน”เป็น ”วิทยาลัยเทคโนโลยี” ตาม พรบ. โรงเรียนเอกชน ปี 2550 ปรับปรุง 2551 จากชื่อโรงเรียนสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ เป็น วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพระภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี


ปัจจุบัน วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามธุรกิจ ในพระอุปถัมภ์ฯ เปิดทำการเรียนการสอนทั้งภาค ปกติและภาคสมทบมีนักเรียน นักศึกษาทั้งสองภาครวมกันทั้งสิ้น 2500 คน มีอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษ และเจ้าหน้าที่จำนวน 70 ท่าน



หลักสูตร ปวช.

สาขาวิชาการบัญชี
สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขาวิชาการโรงแรม


หลักสูตร ปวส

สาขาวิชาการบัญชี
สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขาวิชาการโรงแรม
สาขาวิชาการท่องเที่ยว


International English Program
(Higher Diploma in Technical Education)
Hotel Management
Tourism Management